ยินดีต้อนรับสู่เว็บบล็อกครูจ๋าวผู้เข้าชมบล็อกสามารถดูรายละเอียดการนำเสนอข้อมูลเพื่อการศึกษาได้

วันพุธที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ตลาด

คลองสวนร้อยปี ตลาดสี่แผ่นดินที่เต็มไปด้วยคุณค่าและความหมาย แห่งเมืองแปดริ้วและสมุทรปราการ

ตลาดหรือชุมชนโบราณที่มีอายุกว่าร้อยปีนั้นมีมากมายหลายแห่งแต่ละแห่ง ก็เป็นชุมชนที่มีคุณค่าและความหมายในเอกลักษณ์ของแต่ละท้องถิ่น ที่แตกต่างกันออกไป ทริปนี้เราพามายย้อนอดีตภาพแห่งความหลังและความทรงจำที่ยังคงมีชีวิต ที่ตลาดคลองสวนร้อยปี ดินแดนสองจังหวัด นับเป็นชุมชนเก่าแก่ที่ดำรงชีวิตด้วยวัฒนธรรมที่หลากลายและแตกต่าง มีทั้งชาวจีน ชาวไทยมุสลิม ชาวไทยพุทธ แต่สามารถหลอมรวมและผสมผสานกันได้ จนสามารถอยู่รวมกันได้อย่างมีความสุขเรื่อยมา จนกลายเป็นชุมชนขนาดใหญ่ตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง จนถึงปัจจุบันครับ

วิธีออกกำลังกายเวลาไม่สบาย

วิธีออกกำลังกายเวลาไม่สบาย

วันอังคารที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

[youtube]wKeWIKbYcEs[/youtube]

นาฏศิลป์ไทย

นาฏศิลป์ไทย คือ ศิลปะการเเสดงท่าทางการร่ายรำต่างๆ ประกอบดนตรีและการขับร้อง นาฏศิลป์ไทยมีหลายประเภท เช่น
๑.  รำ คือ ศิลปะการร่ายรำ อาจจะมีผู้เเสดงคนเดียวหรือหลายคนก็ได้
การรำ แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ
๑.๑  การรำเดี่ยว คือ การรำเพียงคนเดียว เช่น รำพลายชุมพล รำมโนห์ราบูชายัญ เป็นต้น
๑.๒  การรำคู่ คือ การรำคู่กันสองคน เช่น รำประเลง รำวัดชาตรี รำฉุยฉายกิ่งไม้เงินทอง เป็นต้น ๒. ระบำ คือ การเเสดงท่าทางร่ายรำที่พร้อมกันเป็นหมู่ เป็นชุดไม่มีการดำเนินเรื่องราว
ระบำ เเบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ
๒.๑  ระบำเบ็ดเตล็ด เช่น ระบำเก็บใบชา ระบำจีน-ไทยไมตรี ระบำสี่ภาค ระบำดอกบัว เป้นต้น
๒.๒  ระบำประกอบการเเสดงละคร เช่น ระบำนารายณ์ทรงครุฑ ระบำนกเขา ระบำไก่ เป็นต้น
๓.  ฟ้อน คือ ศิลปะการร่ายรำเเบบพื้นเมืองอย่างหนึ่ง ซึ่งมีลีลาค่อนข้างช้าในขณะร่ายรำ ส่วนมากนิยมเเต่งกายเเบบพื้นเมือง
การฟ้อนมีการเเสดงอยู่ในท้องถิ่น ดังนี้
๓.๑  การฟ้อนของภาคเหนือ เช่น ฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน เป็นต้น
๓.๒  การฟ้อนของภาคอีสาน เช่น ฟ้อนภูไท เป็นต้น

นาฏยศัพท์

ความหมายของคำว่า "นาฏยศัพท์"
          การศึกษาทางด้านนาฏศิลป์ไทย ไม่ว่าจะเป็นการแสดงโขน ละคร หรือระบำเบ็ดเตล็ดต่างๆก็ดี ท่าทางที่ผู้แสดงแสดงออกมานั้นย่อมมีความหมายเฉพาะ ยิ่งหากได้ศึกษาอย่างดีแล้ว อาจทำให้เข้าใจในเรื่องการแสดงมากยิ่งขึ้นทั้งในตัวผู้แสดงเอง และผู้ที่ชมการแสดงนั้นๆ สิ่งที่เข้ามาประกอบเป็นท่าทางนาฏศิลป์ไทยนั้นก็คือ เรื่องของนาฏยศัพท์ ซึ่งแยกออกได้เป็นคำว่า "นาฏย" กับคำว่า "ศัพท์"ดังนี้
          นาฏย หมายถึง เกี่ยวกับการฟ้อนรำ เกี่ยวกับการแสดงละคร
          ศัพท์ หมายถึง เสียง คำ คำยากที่ต้องแปล เรื่อง

          เมื่อนำคำสองคำมารวมกัน ทำให้ได้ความหมายขึ้นมา ซึ่งมีผู้กล่าวไว้ดังนี้
          นาฏยศัพท์ หมายถึง   ศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับลักษณะท่ารำที่ใช้ในการฝึกหัด เพื่อใช้ในการแสดงโขน ละคร เป็นคำที่ใช้ในวงการนาฏศิลป์ไทย สามารถสื่อความหมายกันได้ทุกฝ่ายในการแสดงต่างๆ

นาฏศิลป์ไทย

ความหมายของคำว่า "นาฏศิลป์"
  • นาฏศิลป์ หมายถึง ศิลปะแห่งการละครหรือการฟ้อนรำ
  • นาฏศิลป์ หมายถึง ความช่ำชองในการละครฟ้อนรำ
  • นาฏศิลป์ หมายถึง การร้องรำทำเพลง ให้เกิดความบันเทิงใจ อันประกอบด้วยความโน้มเอียง และความรู้สึก   ส่วนสำคัญส่วนใหญ่ของนาฏศิลป์อยู่ที่การละครเป็นเอก หากแต่ศิลปะประเภทนี้จำต้องอาศัยดนตรี และการขับร้องเข้าร่วมด้วย เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกิดคุณค่าในศิลปะยิ่งขึ้นตามสภาพหรืออารมณ์ต่างๆกัน สุดแต่จุดมุ่งหมาย
  • นาฏศิลป์ หมายถึง การฟ้อนรำที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นจากธรรมชาติด้วยความประณีตอันลึกซึ้ง เพรียบพร้อมไปด้วยความวิจิตรบรรจงอันละเอียดอ่อน นอกจากหมายถึงการฟ้อนรำ ระรำเต้นแล้ว ยังหมายถึงการร้อง และการบรรเลงด้วย
  • นาฏศิลป์ หมายถึง ศิลปะในการฟ้อนรำหรือความรู้แบบแผนของการฟ้อนรำ เป็นสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นด้วยความงดงามมีแบบแผน ให้ความบันเทิงอันโน้มน้าวอารมณ์ และความรู้สึกของผู้ชมให้คล้อยตาม ศิลปะประเภทนี้ต้องอาศัยการบรรเลงดนตรี และการขับร้องเข้าร่วมด้วย เพื่อส่งเสริมให้เกิดคุณค่ายิ่งขึ้น แต่ความหมายที่เข้าใจทั่วไป คือ ศิลปะของการร้องรำทำเพลง

นาฏศิลป์ไทย

ประวัตินาฏศิลป์ไทย
       
 นาฏศิลป์  เป็นศิลปะแห่งการละคร  ฟ้อนรำ  และดนตรี  อันมีคุณสมบัติตามคัมภีร์นาฏะหรือนาฏยะ  กำหนดว่า  ต้องประกอบไปด้วย  ศิลปะ  3  ประการ  คือ  การฟ้อนรำ  การดนตรี  และการขับร้อง  รวมเข้าด้วยกัน  ซึ่งทั้ง  3  สิ่งนี้เป็นอุปนิสัยของคนมาแต่ดึกดำบรรพ์  นาฏศิลป์ไทยมีที่มาและเกิดขึ้นจากสาเหตุตามแนวคิดต่าง ๆ เช่น  เกิดจากความรู้สึกกระทบกระเทือนทางอารมณ์  ไม่ว่าจะอารมณ์แห่งความสุข  หรือความทุกข์แล้วสะท้อนออกมาเป็นท่าทาง  แบบธรรมชาติและประดิษฐ์ขึ้นเป็นท่าทางลีลาการฟ้อนรำ  หรือเกิดจากลัทธิความเชื่อในการนับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์  เทพเจ้า  โดยแสดงความเคารพบูชาด้วยการเต้นรำ  ขับร้อง  ฟ้อนรำให้เกิดความพึงพอใจ  เป็นต้น

วันจันทร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

เรียนรู้เรื่องเว็บบล็อก

     เข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการด้วยเว็บบล็อก ณ ศูนย์ภาษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง
ประวัติส่วนตัว
ชื่อ -นามสกุล       สุจิตรา  วิโรจนะ
ชื่อเล่น                  ครูจ๋าว
วันเกิด                   วันศุกร์
สถานที่ทำงาน      โรงเรียนบ้านเบิกไพร ตำบลเบิกไพร อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี
ตำแหน่งปัจจุบัน    ครู
วิทยฐานะ              ชำนาญการพิเศษ(สาระนาฏศิลป์)
วิชาที่ชอบ             นาฏศิลป์และภาษาอังกฤษ
ปัจจุบัน                  จัดการเรียนการสอนนักเรียนชั้นป.4 - 6 สาระภาษาอังกฤษและนาฏศิลป์